




ที่ข้อศอก มีก้อนอักเสบบวมนูนขึ้น ขนาดเท่าลูกมะนาว ใช้นิ้วมือกดลักษณะคล้ายถุงน้ำ กดแรงๆสุนัขสะดุ้งเจ็บ และใช้ลิ้นเลีย
เป็นมาประมาณ 2 เดือน
การวินิจฉัยโดย
1. สัตวแพทย์คลำ กด บีบ จากภายนอกเพื่อวินิจฉัยแยกจากโรคข้อและกระดูกเบื้องต้น
2. ใช้อุลตราซาว์ ดูว่าภายในถุงเป็นของเหลว หรือ ก้อนเนื้อพังผืด (บางกรณีถ้าภายในเป็นลักษณะของเหลว ไม่เป็นพังผืดหรือก้อนเนื้อ พิจารณาเจาะระบายของเหลว และ พันกระชับลดการบวม และกินยา)
3.เอ็กซเรย์ดูตำแหน่งข้อ เพราะสัตว์ป่วยบางราย มีการงอกของกระดูกอ่อนที่ผิดปกติ เกิดจากการที่ตำแหน่งดังกล่าวเกิดการกระแทรกจากภายนอกนานๆ จนกระดูกถูกเสียดสี และแตกร้าว ร่างกายมีกระดูกมาพอก ในกรณีนี้ต้องไปตัดกระดูกส่วนนี้ด้วย เพราะจะเสียดสีเรื่อยๆสัตว์จะเจ็บ
การรักษา
ในเคสเนื้อใช้การผ่าตัด เอาถุงและก้อนเนื้อ พังผืดออก และเย็บถุงหุ้มข้อชัั้นนอก และใส่ท่อระบายของเหลวระยะแรก
การป้องกันระยะยาว
1.ควบคุมน้ำหนักสัตว์ไม่ให้อ้วนเกินไป เพราะน้ำหนักจะเกดทับตำแหน่งปุ่มกระดูกเกิดแผลกดทับได้ง่าย
2.สิ่งปูรอย บริเวณที่เลี้ยงสัตว์ ไม่ให้ แข็ง ที่ขรุขระ เปียกแฉะ และมีบริเวณขับถ่ายแยกจากส่วนเลี้ยง
3.มีอุปกรณ์ สนับข้อศอก หัวเข่า ใส่ให้สัตว์ เพื่อลดการกระแทรกจำหน่าย
สุนัขรับยาลดหารอักเสบ 7 วัน และยาฆ่าเชื้อ 14 วัน ทำแผลทุก 3 วัน เราตัดท่อระบายของเหลวที่ 3 วัน และตัดไหมที่ 14 วัน แผลหายดีเจ้าสัวกลับไปวิ่งเล่นได้ปกติ
หากพบขนร่วง สัตว์เลีย หรือ ก้อนผิดปกติ หรือแผลเรื้อรัง ตามตำแหน่งปุ่มกระดูกต่างๆ เช่น ข้อศอก ตาตุ่ม ควรพาไปพบสัตวแพทย์ เพื่อตรวจ และรับคำแนะนำในการรักษา และป้องกัน
พบเกิดบ่อยในสัตว์ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ที่มีน้ำหนักมาก อ้วน และเป็นพันธุ์ขนสั้น
แหล่งปูนอน สภาพพื้นคอกที่อยู่อาศัย แข็ง ที่ขรุขระ เปียกแฉะ เป็นปัจจัยให้เกิดโรค
การที่ปุ่มกระดูกสัตว์ โดนเสียดสีหรือกระแทรกบ่อยๆเรื้อรังเป็นเวลานานเป็นปัจจัยให้เกิดโรค
ถ้าเรื้อรังมีภาวะแทรกซ้อนเช่น เป็นแผล มีแมลงวันมาวางไข่ หรือ มีการงอกของกระดูกที่ผิดที่ อาจต้องผ่าตัด และใช้เวลาในการรักษานาน และเกิดซ้ำใหม่ได้ง่าย
ศูนย์ดูแลสัตว์ พัฒนาคุณภาพชีวิตสัตว์เลี้ยง
ให้คำปรึกษาโดยสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
โรงพยาบาลสัตว์จังหวัดอุดรธานี
สถานที่ตั้ง : เลขที่ 269/12-13, ถนนทหาร ตำบลหนองขอนกว้าง อำเภอเมือง อุดรธานี 41000